องค์การบริหารส่วนตำบลโอโล อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ : www.olo.go.th
 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์


ล่ามมือแปลภาษา

    รายละเอียดข่าว

https://www.dep.go.th/th/rights-welfares-services/sign-language-interpreter

ผู้ที่สามารถขอรับบริการล่ามภาษามือได้ /คุณสมบัติ 
     1. คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
     2. ผู้ดูแลคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
     3. หน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่ให้บริการ

ประเภทการให้บริการ
คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย หรือผู้ดูแล มีสิทธิยื่นคำขอรับบริการล่ามภาษามือ ในกรณี ดังนี้
        1. การให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข
        2. การสมัครงานหรือการติดต่อประสานงานด้านการประกอบอาชีพ
        3. การร้องทุกข์ การกล่าวโทษ หรือเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
        4. การเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือการฝึกอบรม รวมทั้งเป็นผู้บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นผู้จัดซึ่งมีคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายเข้าร่วมด้วย
        5. บริการอื่นใด การติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ และการขอรับบริการสาธารณะ ดังนี้
           1) งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน
           2) การขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ หรือบัตรแสดงตนอื่น ๆ ตามกฎหมาย
           3) การจัดทำนิติกรรมสัญญาและขออนุมัติหรืออนุญาตต่าง ๆ
           4) การขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย การให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย และการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทต่าง ๆ รวมถึงการยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ ในชั้นศาลในฐานะเป็นโจทก์ จำเลย หรือพยานบุคคล
           5) การฝึกงาน ฝึกสอน หรือการสอบวัดผล เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่การจัดบริการในสถาบันการศึกษา 
           6) การขอรับบริการสาธารณะอื่น ๆ เพื่อสนองตอบความจำเป็นพื้นฐานของคนพิการและบุคคลในครอบครัว ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของคนพิการวิธีการขอรับบริการ

 ขั้นตอนการจัดบริการ
      1. รับคำขอบริการล่ามภาษามือ (แบบ ลม.03) คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายยื่นคำขอรับบริการล่ามภาษามือ ณ หน่วยจัดบริการล่ามภาษามือตามพื้นที่ (ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทุกจังหวัดและองค์กรคนพิการที่เป็นหน่วยจัดบริการ)
      2. ตรวจสอบเอกสารและพิจารณาคำขอรับบริการล่ามภาษามือ ประกอบแบบ ลม.03 เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องโดยพิจารณาจากเอกสารดังต่อไปนี้
           1) บัตรประจำตัวคนพิการ
           2) บัตรประจาตัวประชาชนของผู้ดูแล (กรณีที่ผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ยื่นคำขอแทนคนพิการ)
           3) หนังสือขอรับการสนับสนุนล่ามภาษามือ (กรณีหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งมีหน้าที่ให้บริการ ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ด้านการประกอบอาชีพ/สมัครงาน กล่าวโทษร้องทุกข์กล่าวโทษ/คดีความ ในชั้นพนักงานสอบสวน อาจดาเนินการยื่นขอ แทนคนพิการหรือ ผู้ดูแลคนพิการได้แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือว่าไม่มีงบประมาณหรือมีไม่เพียงพอที่จะจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายอื่นแก่ล่ามภาษามือ)

  1. ติดต่อประสานจัดหาล่ามภาษามือ เจ้าหน้าที่ประสานติดต่อจัดหาล่ามภาษามือในพื้นที่จังหวัดก่อน หากไม่มีล่ามภาษามือ ในพื้นที่ให้ประสานติดต่อยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงก่อน โดยสามารถดูข้อมูลล่ามภาษามือได้ทางเว็บไซต์ www.dep.go.th หรือประกาศคณะอนุกรรมการฯ เรื่อง การจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือชุมชน
  2. แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับบริการ (ภายใน 3 วัน) ในกรณีคำขอไม่ถูกต้องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
  3. ล่ามภาษามือให้บริการตามคำขอ
  4. ล่ามภาษามือรายงานผลการให้บริการต่อหน่วยจัดบริการ (แบบ ลม.04) เมื่อล่ามภาษามือได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามภาษามือแล้ว ให้ล่ามภาษามือรายงานผลการปฏิบัติงาน ต่อหน่วยจัดบริการ ตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงานล่ามภาษามือ (ลม.04) พร้อมส่งหลักฐานการเบิกจ่ายค่าตอบแทน (ใบสำคัญรับเงิน/ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ) โดยเร็วภายใน 7 วัน
  5. หน่วยจัดบริการตรวจสอบรายงานผลการปฏิบัติงาน แบบ ลม 03 – ลม 05 และดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นให้ล่ามภาษามือทันทีที่ได้รับเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง ยกเว้นหน่วยจัดบริการล่ามภาษามือที่เป็นหน่วยงานราชการให้จ่ายค่าตอบแทนโดยเร็ว และเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน แบบ บก.111 ไว้ให้ สตง.หรือตรวจสอบภายในตรวจตามระเบียบราชการ

วิธีการขอรับบริการ
       1. คนพิการทางการได้ยินหรือผู้ดูแลคนพิการที่ประสงค์จะขอใช้บริการล่ามภาษามือสามารถยื่นคำขอรับบริการล่ามภาษามือได้ ณ หน่วยจัดบริการล่ามภาษามือ โดยจะต้องติดต่อยื่นขอรับบริการ ตามแบบขอรับบริการล่ามภาษามือ (ลม.03) โดยเร็วที่สุด เมื่อรู้ว่าจะต้องใช้บริการล่ามภาษามือ หรือแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ในวันและเวลาราชการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. ยกเว้นกรณี ดังต่อไปนี้
          1) ประสบอุบัติเหตุ   
           2) ป่วยหนักต้องไปพบแพทย์
           3) มีคดีความ 

  1. การยื่นขอรับบริการให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการยื่นคำขอ ดังนี้
    1) เดินทางมายื่นด้วยตนเอง ณ หน่วยจัดบริการ
    2) ทางโทรศัพท์, Line ,SMS, โทรสาร (FAX)
    3)  ทางหนังสือ เอกสารจากหน่วยงานที่ให้บริการ
    4)  ทางอินเตอร์เน็ตหรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กำหนด


    เอกสารประกอบ

ล่ามมือแปลภาษา
 
    วันที่ลงข่าว
: 20 ก.ค. 2566
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ